UFABETWINS ญี่ปุ่น ได้ไปฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายครั้งแรกเมื่อปี 1998
ก่อนหน้านั้นเกือบ 10 ปี ประเทศนี้ไม่นิยมการเล่นฟุตบอล
แต่การผลักดันพร้อมกันทั้งระบบตั้งแต่เยาวชน ทำให้วงการลูกหนังแดนอาทิตย์อุทัยมีแต่ทะยานไปข้างหน้าจนหยุดไม่อยู่ นี่คือเรื่องราวของฟันเฟืองตัวเล็กๆ ภายใต้พื้นฐานที่ยิ่งใหญ่ เรื่องของนักบอลจอมพเนจรชาวอเมริกัน ที่เข้ามาญี่ปุ่นในยุคที่ฟุตบอลยังไม่บูม และมีคนดูพอๆกับคนแข่ง เขาคนนี้กลายเป็นอาจารย์ของเด็กๆทั้งประเทศ และทำให้เด็กญี่ปุ่นมีทัศนคติในการเล่นฟุตบอลแบบใหม่ในแบบที่พวกเขาไม่เคยเป็น ทอม ไบเออร์ ชายคนนี้ทำอะไรบ้าง? ติดตามได้ที่นี่ นักเตะธรรมดา – นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่ สหรัฐอเมริกา ชื่อนี้การันตีได้เลยว่ากีฬาอันดับ 1 ย่อมไม่ใช่ ฟุตบอล
หรือที่แดนลุงแซมนิยามศัพท์กีฬานี้ใหม่ว่า ซอคเกอร์ เพื่อไม่ให้ทับไลน์กับ ฟุตบอล แต่ดั้งเดิมของพวกเขา ที่คนทั้งโลกเรียกว่า อเมริกันฟุตบอล แม้ปัจจุบันจะมีนักเตะเก่งๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ย้อนกลับไปเมื่อปลายยุค 80s ต้องบอกได้เลยว่า นักกีฬาซอคเกอร์ในประเทศนี้ ถ้าไม่เก่งระดับท็อป 3 ของประเทศแทบไม่มีที่ยืน ทอม ไบเออร์ คือชาวอเมริกันที่ชอบฟุตบอลผิดยุค เขาไม่ได้เล่นฟุตบอลเก่งกาจอะไรนักเพราะขาดการผลักดันที่ดี อย่างไรก็ตาม การเป็นคนที่ชอบฟุตบอลจริงที่ใช้เท้าเตะ เขาจึงเลือกเส้นทางสายผจญภัย กับการเป็นนักเดินทางไปยังรอบโลก เพื่อหาว่าฟุตบอลที่ไหนเหมาะกับคนอย่างเขาที่สุด
“ผมเล่นฟุตบอลที่มหาวิทยาลัยแทมปา ก่อนจะได้เล่นอาชีพในอเมริกาช่วงสั้นๆ ตอนนั้นมันไม่ค่อยดีนัก เลยตัดสินใจไปที่อังกฤษ แล้วก็ได้เล่นในลีกระดับกึ่งอาชีพในซัฟโฟล์ค-อิปสวิช ลีก จากนั้นก็เร่ร่อนไปเรื่อยๆ จนได้มาเล่นที่ญี่ปุ่นนี่แหละ”
ญี่ปุ่นในช่วงยุค 80s นั้นถือเป็นช่วงที่วงการฟุตบอลกำลังร่างแผนพัฒนา 100 ปี ณ เวลานั้นลีก
ลูกหนังในประเทศพวกเขายังไม่เป็นลีกอาชีพด้วยซ้ำ
เป็นทีมจากองค์กรต่างๆ ส่งทีมมาแข่งขันกันมากกว่า มันคือช่วงเวลาแห่งการตั้งไข่ ก่อนทุกอย่างจะเริ่มสร้างอยางจริงจังเมื่อเข้าสู่ยุค 90s
“ผมมาที่ญี่ปุ่นในปี 1988 เพื่อเล่นให้กับทีม ฮิตาชิ (ปัจจุบันคือ คาชิวา เรย์โซล) ในลีกอุตสาหกรรม แต่ก็เล่นได้ไม่นานนัก ตอนนั้นผมอายุ 28 ปี และมีอาการบาดเจ็บสะสมเยอะมากจนไปต่อไม่ไหว สุดท้ายผมก็ต้องเลิกเล่นฟุตบอลก่อนวัยอันควรไปโดยปริยาย”
เขาบรรยายถึงการมาญี่ปุ่นครั้งแรก การได้อยู่ในวงการฟุตบอลญี่ปุ่นแม้จะช่วงสั้นๆ ทำให้นักเดินทางเร่ร่อนอย่าง ทอม ไบเออร์ เล็งเห็นถึงบางสิ่งในประเทศนี้ที่ยังมาไม่ถึง เขารู้ว่าในอีกไม่นาน ฟุตบอลญี่ปุ่นจะก้าวหน้าด้วยโครงการที่ยิ่งใหญ่ และสิ่งสำคัญที่จะทำให้ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จมาเร็วขึ้น คือการสร้างเยาวชนที่มีความรู้ความสามารถด้านฟุตบอลขึ้นมา เพื่อให้ตรงกับช่วงเวลายุทธศาสตร์ 100 ปี พอดี เรียกได้ว่าเมื่อมีการวางระบบขึ้น เด็กๆพวกนี้ก็พร้อมที่จะ
เข้าสู่แผนการพัฒนาทันที ไม่ต้องเสียเวลาพลิกแผ่นดินหาช้างเผือกใหม่เลย ซึ่งภายหลังจากมีการรีแบรนด์และปรับโฉมฟุตบอลอาชีพในญี่ปุ่นใหม่ มีกฎข้อหนึ่งว่าด้วยระบบเยาวชน โดยทุกๆสโมสรที่ส่งทีมเข้าแข่งขัน จะต้องมีทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปีและ 15 ปี ของสโมสร หรืออย่างแย่ที่สุด ก็ต้องมีแผนการสร้างทีมเยาวชนเตรียมไว้ กฎข้อนี้เองแสดงถึงว่า ในอนาคต ญี่ปุ่น จะต้องการบุคลากรทางฟุตบอลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในระดับเยาวชน
ดังนั้น นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่เขาจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง ทอม เชื่อว่าเขาควรจะหยุดเสี่ยงดวงที่ประเทศนี้ดู เขาอาจจะไม่ใช่นักเตะที่เก่งกาจอะไร แต่การเดินทางด้านฟุตบอลผ่านประสบการณ์กว่า 10 ปี ก็ทำให้เขารู้ดีว่าเด็กๆต้องเรียนรู้อะไรเพื่อให้โตขึ้นมาเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพในระบบที่กำลังจะมาถึง เขาจึงคิดจะเปิดคลินิกฟุตบอลสำหรับเด็กๆในประเทศญี่ปุ่นขึ้นมา
“ตอนนั้นเรื่องการเปิดคลินิกฟุตบอลเริ่มจะบูมแล้วที่อเมริกา ดังนั้น ผมก็เลยคิดว่าน่าจะลองทำคลินิกฟุตบอลที่ญี่ปุ่นดูบ้าง”
ทอม กล่าวถึงแนวคิดของเขา แม้จะมีไอเดียและมีความฝัน แต่มันก็ยากที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจตรงกับเขา ทอม อาจจะเห็นอนาคต แต่คนอื่นมองไปไม่ไกลถึงขนาดนั้น นั่นจึงทำให้ยากสำหรับการหาทุนมาสร้างคลินิกและศูนย์ฝึกที่มีคุณภาพ รวมถึงขยายสาขาไปให้ทั่วประเทศ คลินิกฟุตบอลเล็กๆของ ทอม ยังคงดำเนินต่อไป ภายใต้นักเรียนประมาณ 40-50 คน
โดยกลุ่มนักเรียนชุดแรกนั้นถือเป็นตัวลองวิชาของเขาเลยก็ว่าได้ เพราะคลินิกฟุตบอลของ ทอม จะต่างจากอคาเดมีต่างๆในประเทศที่ฟุตบอลเจริญแล้ว เขาจะไม่สอนเรื่องแท็คติก ความเข้าใจเกม และฟิตเนส หรือใดๆก็ตามมากมายนัก
เพราะ ณ เวลานั้น ความนิยมด้านฟุตบอลในญี่ปุ่นยังมีไม่มากนัก หากอัดเรื่องวิชาการหรืออะไรที่ยากๆเข้าไป จะทำให้เด็กๆไม่เปิดใจเรียนรู้เพราะความเบื่อหน่ายไปเสียก่อน เขาจึงเริ่มคิดแบบฝึกในฉบับของตัวเองขึ้นมานั่นคือ
“1 คน 1 ลูกบอล”
เล่นให้สนุกเดี๋ยวชอบเอง ทอม พยายามหาแนวคิดที่เหมาะกับเด็กญี่ปุ่นและสถานการณ์
ในวงการฟุตบอล ณ เวลานั้นมากที่สุด ซึ่งเขาก็มาเจอกับหลักสูตร Coerver Coaching
ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่มุ่งเป้าไปยังเด็กอายุน้อยๆเป็นหลัก โดยหลักสูตรนี้ถูกคิดค้นโดย วีล โคเอเวอร์ (Wiel Coerver) โค้ชที่เคยพาทีม เฟเยนูร์ด คว้าแชมป์ยูฟ่า คัพ ในปี 1974 หลักสูตร Coerver Coaching ที่ ทอม เอามาดัดแปลงเป็น
“1 คน 1 ลูกบอล”
คือการฝึกด้านเทคนิคให้กับเด็กๆ ตั้งแต่พื้นฐาน พวกเขาจะได้หัดเลี้ยง หัดส่ง และหัดเล่นเป็นทีม โดยหลักๆแล้วจะเป็นการรับส่ง เคลื่อนที่ และการดวลแบบ 1-1 โดยใช้ความเร็วเข้าไปจบสกอร์ กระบวนการทั้งหมดคือความสนุกและเร้าใจที่เข้าถึงเด็กๆได้ง่าย ซึ่งความสนุกนี้เอง ที่จะเปลี่ยนเป็นความรักและความทุ่มเทกับฟุตบอลในภายหลัง
“ย้อนกลับไปสมัยนั้น ถ้ามีนักเตะคนไหนเลี้ยงบอลเก่ง เล่นทริคสวยๆ รับรองดังแน่นอน พวกเขาจะเป็นจุดดึงดูดสายตาผู้คน และเปลี่ยนฟุตบอลเป็นความบันเทิงได้”
เขากล่าว หลังจากได้ฝึกเด็กๆดู ก็เริ่มมีคนสนใจคลินิกฟุตบอลของเขามากขึ้นเรื่อยๆ
จากความสนุกกลายเป็นภาพที่กว้างขึ้น เมื่อเขาได้เจอกับนักเรียนของเขาคนหนึ่งที่เป็นลูกชายของพนักงานในบริษัทเนสท์เล่ ซึ่ง ทอม ใช้โอกาสนั้นขอเข้าพบ เพื่อขายไอเดียของเขาในการจะขยายศูนย์ฝึกให้ใหญ่และมีประสิทธิภาพขึ้น
“พ่อของเธอทำตำแหน่งไหนในบริษัทเนสท์เล่เหรอหนูน้อย?”
ทอม ถาม ก่อนที่เด็กน้อยคนนั้นจะตอบว่า
“พ่อผมเป็นประธานบริษัทครับ”
เท่านั้นเอง ทอม ก็ได้โอกาสดีที่จะโทรไปเทียวไล้เทียวขื่อเสนอสิ่งต่างๆที่อยู่ในหัวของเขา จนกระทั่งเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ บริษัท เนสท์เล่ ตัดสินใจเป็นสปอนเซอร์ให้กับคลินิกฟุตบอลของเขา ภายใต้ชื่อ Nestle Soccer Clinic ก่อนที่สุดท้าย การสอนแบบ 1 คน 1 ลูกบอล จะประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับความสนใจจากเด็กๆและผู้ปกครองมากมาย จนท้ายที่สุด ทอม ก็ได้ทำตามฝัน นั่นคือการเปิดศูนย์ฝึกอย่างเป็นทางการขึ้นมาในปี 1993 ภายใต้ชื่อ Coerver Coaching Japan
“ตอนแรกสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นไม่ได้สนับสนุนเรา จนกระทั่งเรากลายเป็นธุรกิจขนาด ใหญ่นี่แหละ พวกเขาก็เพิกเฉยกับเราไม่ได้อีกต่อไป พวกเขาเห็นว่าแนวทางของเรามันน่าสนใจ จากนั้นเราก็ถูกขอให้ฝึกอบรมโค้ชของ JFA จนกระทั่งได้รับความร่วมมืออย่างดีเสมอมาหลังจากนั้น”
ศูนย์ฝึก Coerver Coaching Japan ไม่ใช่แค่ทำให้เด็กๆเล่นฟุตบอลด้วยเทคนิคที่ดีขึ้น แต่พวกเขาเปลี่ยนแนวคิดของเด็กๆใหม่หมด ปกติแล้ว สังคมญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความเคารพในผู้อาวุโส พวกเขาแสดงออกไม่เก่ง และแทบไม่มีอีโก้ส่วนตัวเลย ดังนั้น หากอยากจะให้เด็ก ทั้งประเทศกลายเป็นจอมเทคนิค นอกจากจะทำให้สนุกแล้ว ยังต้องทำให้เด็กๆเปลี่ยนแนวคิดให้ทะเยอทะยานยิ่งกว่าเดิมด้วย
“เด็กญี่ปุ่นค่อนข้างขี้อาย พวกเขาถูกสอนมาตั้งแต่ตัวเล็กๆว่า อย่าไปทำตัวโดดเด่นมากนัก พวกเขาเชื่อมั่นในอุดมการณ์ของส่วนรวมมาก่อนคำว่าส่วนบุคคล พวกเขาไม่ค่อยกล้ายกมือขึ้นถามต่อหน้าคนอื่นหากสงสัย”
การสอนแบบ Coerver Coaching ทำให้เด็กทุกคนอยากจะแสดงออก เมื่อได้บอลแล้วพวกเขาจะแสดงออกสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
เมื่อมีเทคนิคแล้วก็จะได้เล่นกันอย่างสนุกสนาน และนั่นคือหนึ่งในการละลายพฤติกรรมให้ทุกคนกล้าเลี้ยง กล้าเล่น และหลุดจากรอบวัฒนธรรมเดิมๆที่เคยเป็น และนั่นคือการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะกระเพื่อมครั้งใหญ่ในอนาคต เซนเซทอม หลังจากได้รับการสนับสนุนจากทั้งสมาคมและบริษัทใหญ่ ศูนย์ฝึก Coerver Coaching ของ ทอม ก็มีถึง 60 แห่งในประเทศญี่ปุ่น
เขามีนักเรียนภายใต้โรงเรียนสาขาต่างๆมากถึง 9,000 คน และมีนักเรียนหลายๆคนสามารถสร้างชื่อในระดับ เจลีก นอกจากสร้างนักเตะแล้ว พวกเขายังมีคอร์สสำหรับฝึกสอนโค้ชอีกด้วย
อ่านข่าวอื่นๆได้ที่ >>> https://www.ufabetwins.com/
หน้าแรก >>> บ้านผลบอล